การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีสารทเดือนสิบกับแนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท (A Comparative Study between Sard Deun Sib Festival and Concept of Kamma and Merit Transfer in Theravada Buddhism)

Authors

  • สุมาลัย กาลวิบูลย์ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

กรรม, การอุทิศส่วนกุศล, ประเพณีสารทเดือนสิบ, พุทธศาสนานิกายเถรวาท

Abstract

งาน วิจัยเรื่อง“การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีสารทเดือนสิบกับแนวคิดเรื่อง กรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศึกษาที่มาและรูป แบบของประเพณีสารทเดือนสิบ และศึกษาเปรียบเทียบประเพณีสารทเดือนสิบกับ แนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นงาน วิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาจากข้อมูลเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์ สนทนา และสังเกตผู้เข้าร่วมประเพณีสารทเดือนสิบ
ผลการวิจัยสรุปได้วา ประเพณีสารทเป็นประเพณีที่คนไทยทั่วทุกภาคให้ความ
สำคัญในฐานะที่เป็นวันทำบุญในช่วงกลางเดือนสิบ มีเป้าหมายเพื่อทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ ทั้งที่เป็นญาติและมิใช่ ชาวภาคใต้เรียกประเพณีนี้ว่าประเพณีบุญเดือนสิบหรือเรียกตาม
ทางราชการว่าสารทเดือนสิบ เชื่อว่าอาจจะมาจากพิธีศราทธ์ประจำปีของศาสนา พราหมณ-ฮินดูที่เรียกว่าประเพณีปิตรปักษ์หรือโซลาศราทธ์ เนื่องจากมีความสอดคล้อง อยู่หลายด้าน อาทิ การนิยามความหมายของ “สารท” และ “เปรต” ที่มา การประกอบพิธี ในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี ขั้นตอนการประกอบพิธีที่ใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังใช้เครื่อง อุทิศในเชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมุมมองของพุทธศาสนาแล้วถือว่า ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่มุ่งเน้นในคำสอนเรื่องกรรมและการอุทิศ ส่วนกุศล ถึงแม้ว่าการนิยามความหมายของ “กรรม” ในประเพณีสารทเดือนสิบมีความแตกต่าง จาก “กรรม” ในพุทธศาสนานิกายเถรวาทอยู่บ้าง แต่ความเชื่อเรื่องกรรมที่ปรากฏอยู่ใน ประเพณีสารทเดือนสิบยังคงมุ่งเน้นที่ประเด็นสำคัญในคำสอน นั่นคือหลักศีลธรรมซึ่งส่ง ผลให้ผู้เข้าร่วมทำความดีละเว้นความชั่วเพื่อให้เกิดผลดีและหลีกเลี่ยงผล ร้ายที่จะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในประเพณีสารทเดือนสิบ คือ การอุทิศส่วนกุศล พุทธ ศาสนานิกายเถรวาทกล่าวว่าการอุทิศส่วนกุศลประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ผู้ ทำบุญ ของที่ใช้ในการทำบุญ ผู้รับของที่ทำบุญ และผู้รับส่วนบุญที่อุทิศให้ สารทเดือน สิบเน้นที่ของถวายและผู้รับส่วนบุญ ในขณะที่พุทธศาสนาเน้นที่ความศรัทธาของผู้ ทำบุญและผู้รับของทำบุญหรือพระสงฆ์จากจุดเน้นที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้เข้า ร่วม ประเพณีสารททำบุญโดยไม่เข้าใจหลักคำสอนที่ปรากฏในประเพณี แต่ให้ความสำคัญ กับรูปแบบของประเพณีซึ่งเป็นเพียงเปลือกที่ห่อหุ้มคำสอนในพุทธศาสนา และที่สำคัญ ยังขาดการตรวจสอบคุณสมบัติของพระสงฆ์ในฐานะผู้รับของทำบุญ ซึ่งเป็นส่วน ประกอบที่สำคัญในการที่จะส่งผลให้บุญที่ทำมีผลเพิ่มเป็นร้อยเท่าทวีคูณ การตรวจสอบ คุณสมบัติของผู้รับนี้นับว่าเป็นพุทธอุบายในการตรวจสอบพระสงฆ์อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ นักบวชในพุทธศาสนาเป็นนักบวชที่มีคุณภาพถึงพร้อมด้วยคุณธรรมรวมถึงเพื่อดำรง ศรัทธาของศาสนิก และหากผู้เข้าร่วมประเพณีได้ให้ความสำคัญกับส่วนประกอบทั้ง 4 แล้วเชื่อว่าจะทำให้พุทธศาสนามีนักบวชผู้ทรงธรรม และศาสนิกผู้กอปรด้วยศรัทธาและ ปัญญาไปพร้อมกัน

 

The objectives of this research are: to study the concept of Kamma and the concept of merit transfer in Theravada Buddhism, to study the Sard Deun Sib Festival, its background, and its ceremonial process, and to compare study the
concept of Kamma and merit transfer in Sard Deun Sib festival and Theravada Buddhism. The research is a quantitative research in which its methods are: library research method, interview method, and participation in the Sard Deun Sib festival.

The research indicated that Sard is a festival at the tenth lunar month that most Thai paid attention to as a merit doing festival to the departed ancestors. People in the southern part of Thailand called “Boon Duen Sib” or officially called “Sard Duen Sib.” The Sard Duen Sib festival may be originated from the Pitr-
Paksha of Brahmanism-Hinduism since both festivals have many in similar i.e, belief, background, definition of concerned terms i.e., “Sard,” “Kamma,” and “Peta,” background, start and end at the same time, and both offered offerings in the form of symbol with the hope that these offerings would be useful to their
departed ancestors in the spiritual world. Sard Duen Sib festival comparing to Buddhism point of view is a festival that given priority to the concept of Kamma and Merit Transfer. Sard Duen Sib festival defines the term “Kamma” different from that of Buddhism. However, it still retains the core idea of Kamma i.e.,
moral idea. Moreover, Buddhism refers to 4 factors in transferring of merit i.e., doer, donee, gift, and merit transfer to the depart(Ed) Sard Duen Sib festival stresses on gift and merit transferring to the depart(Ed) Therefore, people who attended this festival could not understand the hidden Buddhist Dhamma behind the festival that the festival is only mean to draw people to do merit in order to understand Dhamma behind it not to the gift. While, Buddhism on the other hand pays more attention to faith of the doer and the qualified donee. In order to have
faith in Buddhism, people need to understand its teaching, and in order to give gift to qualified donee, people need to verify the donee from time to time. Therefore, these could maintain Buddhism in pure teaching with qualified monks, and protect by Buddhist who contain with faith and wisdom.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

กาลวิบูลย์ ส. (2014). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีสารทเดือนสิบกับแนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท (A Comparative Study between Sard Deun Sib Festival and Concept of Kamma and Merit Transfer in Theravada Buddhism). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 3(2), 93–128. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/71