การจัดการทางสังคม: สังเคราะห์แนวคิดเพื่อการอธิบายการจัดการกลุ่มองค์กรประชาชนในสังคมชนบทไทย

Authors

  • รงค์ บุญสวยขวัญ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

การจัดการ ความเคลื่อนไหวทางสังคม, การจัดองค์กร, การสื่อสารหรือการทำให้เป็นข่าวหรือเป็นประเด็นสาธารณะ, การเกณฑ์หรือการระดม, การเชื่อมโยงเครือข่าย, ความไว้วางใจ, ผู้นำ

Abstract

งาน ชิ้นนี้เป็นการสังเคราะห์ขึ้นจากงานการศึกษาเอกสารและภาคสนาม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบาย การจัดการทางสังคมในบริบทการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยพบว่ามีกระบวนการจัดการความเคลื่อนไหวของกลุ่ม องค์กร ขบวนการทางสังคม ประกอบด้วยลักษณะสำคัญเชิงแนวคิด 6 ประการ คือ กลุ่ม องค์กร ขบวนการและ การจัดองค์กร เน้นความสัมพันธ์แบบราบ อาจจะเป็นความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรม ไม่เน้นสายบังคับบัญชาและกฎหมายเป็นเครื่องมือ แต่เน้นความไว้วางใจ แต่ก็มีการใช้กฎหมายหรือระเบียบองค์กรเป็นเครื่องมือ ในบางองค์กร นโยบายมาจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมตัดสินใจของทุกฝ่าย มีภารกิจชัดแต่มีการปรับตลอดเวลาตามสถานการณ์ มีการกระทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรขนาดเล็ก เป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะชน ผู้นำ เป็นผู้นำในที่มิใช่เป็นผู้บังคับบัญชาแต่เป็นผู้ที่มีบทบาทในการประสานงาน อำนวยการ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แต่การยอมรับมาจากศรัทธา ความเชื่อและไว้วางใจ ความสามารถเฉพาะบุคคล หรือบุคลิกภาพส่วนตัวสูง ความไว้วางใจ เป็นกระบวนการที่ต้องจัดการโดยผู้นำสร้างขึ้นเพื่อให้สมาชิกมีความรู้สึก โดยมีบทบาทชัดเจน การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มองค์กร ที่มาจากความสมัครใจ ต้องมีความอิสระและมีความเท่าเทียมในการกระทำร่วมกัน โดยมักจะมีรูปแบบเครือข่ายผ่านผู้นำ แกนนำ, การเกณฑ์หรือการระดม เป็นการกระทำผ่านการเกณฑ์บุคคล เกณฑ์หรือระดมความรู้ความคิด ทรัพย์สิน โดยที่มาจากประเด็นปัญหาความต้องการร่วมของผู้คนและผู้นำต้องมีทักษะในการ ระดมที่หลากหลายและใช้วิธีการเหมาะสม การสื่อสาร และการทำให้เป็นข่าวหรือเป็นประเด็นสาธารณะ เป็นความจำเป็นที่ทำให้วัตถุประสงค์ได้รับตอบสนอง จึงต้องเล่นข่าวเล่นกับสื่อ และมีวิธีการสื่อสารให้สังคมรับรู้หลากหลายวิธีการ

 

This research was synthesized by reviewing literatures and field studying. Its objective was to explain social management in social movement contexts in Thai rural society. It found that there were six important concepts to explain it are as follows, first, groups, organizations, movement and organizing, it
emphasized on the small organizations, horizontal relation which be the cultural relation, inessential hierarchy and regular seriously but need to trust, the collaborative decision making for some organizations, the obvious missions but could be adapted by contingency, continuously activities and the purpose for
public interests. Second, elites, their roles were as the facilitator which they were not be the commander in organizations, they had no authority by law but they were consensus by belief and trust, they also had specific competency and highly private personality.Third, trust, it was the created procedure and managed by elites for convincing the members to have the common sense in the distinct role. Forth, networking, it was the relationship in the organization level by volunteering which be independent and equal to do the collective actions and it
was mostly connected the network through elites and mainstays.Fifth, mobilizing, it was acted through people, idea or capital mobilizing which was emerged by problem based or issue based of people, moreover, elites had to have multiple skills to mobilize with the suitable methods. The lastly issue was communication and public issues, it was very important to communicate to the public in order to response the purpose and announce to public with the multiple ways.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

บุญสวยขวัญ ร. (2014). การจัดการทางสังคม: สังเคราะห์แนวคิดเพื่อการอธิบายการจัดการกลุ่มองค์กรประชาชนในสังคมชนบทไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 3(2), 167–200. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/72