รูปแบบการจัดการไร่ข้าว : วิถีการพึ่งตนเองด้านอาหาร ของชุมชนป่าร่อน (Paddy Field Management Pattern : Food Self-Sufficiency of Pa - Ron Community)

Authors

  • นิทัศ ไหมจุ้ย สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ภมรรัตน์ สุธรรม สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

ข้าวไร่, การจัดการไร่ข้าว, การพึ่งตนเองด้านอาหาร, ชุมชนป่าร่อน, upland rice, paddy field management, food self - sufficiency, Pa - Ron community

Abstract

การผลิตข้าวของชุมชนป่าร่อนในอดีตเป็นการปลูกข้าวร่วมกับพืชอาหารชนิดอื่น
เรียกการผลิตลักษณะนี้ว่า “การทำไร่ข้าว” ต่อมาเมื่อยางพารากลายเป็นพืชเศรษฐกิจ
หลักของชุมชน การทำไร่ข้าวจึงถูกลดทอนบทบาทลง ชาวบ้านมีการผลิตพืชอาหารน้อย
ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจึงสั่นคลอนไปด้วย ภายหลังยางพาราราคาตกตํ่า
การผลิตข้าวได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง แต่เป็นการผลิตที่แตกต่างจากอดีตโดยสิ้นเชิง คือ
มุ่งผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว เรียกการผลิตแบบนี้ว่า “การทำไร่ข้าว”
บทความนี้นำเสนอพัฒนาการการผลิตข้าวในชุมชนเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง
การปรับตัว บทบาทการผลิตอาหารที่มีต่อชุมชน รวมถึงนำกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ
ในการจัดการพืชอาหาร เพื่อให้เห็นแนวคิด ทุน และทางนำไปปรับใช้ในการสร้างความมั่นคง
ทางอาหารของครัวเรือนสู่การพึ่งตนเองด้านอาหารที่ยั่งยืน

Rice production of Pa - Ron sub district community in the past was
growing rice along with other crops. We called this kind of production,
“Paddy Field Farming or Rai Khao”. After that, rubber latex became the main
economic crop of the community. Therefore, the paddy field farming had
reduced its role in Pa-Ron. Villagers grew less food crops. The community’s
food production stability became decreased. However, after the slump in natural
rubber price, rice production has become increasingly popular again. This time
the production is totally different from the past. The villagers now grow only
rice. We called this kind of production, “Upland Rice Farming or Khao Rai”.
This article presents the development of rice production in the
community in order to show the changes, the adaptation, food production role
in the community, and also successful case studies of food crop management
which indicate ideas, capitals, and how to improve from building household
food stability to sustainable food self-sufficiency.

Downloads

Published

2017-12-26

How to Cite

ไหมจุ้ย น., & สุธรรม ภ. (2017). รูปแบบการจัดการไร่ข้าว : วิถีการพึ่งตนเองด้านอาหาร ของชุมชนป่าร่อน (Paddy Field Management Pattern : Food Self-Sufficiency of Pa - Ron Community). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(3), 55. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/748