เรือนสามนํ้าสี่ : การจัดการความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของสตรีไทย ผ่านมุมมองปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้จากวรรณกรรมปฏิทัศน์ (Ruan Sam Nam Si: Knowledge Management of Thai Women’s Values from the Views of Local Intelligence Experts in Patithat Literature)

Authors

  • ประทุมทิพย์ ทองเจริญ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

Keywords:

เรือนสามนํ้าสี่, การจัดการความรู้, สตรีไทย, วรรณกรรมปฏิทัศน์, Ruan Sam Nam Si, Knowledge Management, Thai Women, Patithat Literature

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาคุณค่าของสตรีไทยผ่าน
มุมมองปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมปฏิทัศน์ จำนวน 22 เรื่อง
ซึ่งสะท้อนภาพในอดีตเกี่ยวกับประเด็นเรือนสามนํ้าสี่ และ 2) ศึกษาพลวัตเกี่ยวกับคุณค่า
ของสตรีไทยในอดีตซึ่งเป็นผลจากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อแรกเปรียบเทียบกับ
ปัจจุบันจากการสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในเวที
ต่าง ๆ และในเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย
เชิงคุณภาพ เน้นที่รูปแบบการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
บนฐานคิดทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ การบริหารตน การบริหารคน และการบริหารงาน
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ รวมถึงการสัมภาษณ์
เชิงลึกประเด็นที่เกี่ยวกับคุณค่าของสตรีจากผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์ชาวบ้านในภาคใต้
ทางด้านวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า “เรือนสามนํ้าสี่” คือ คุณค่าของสตรีไทยที่คนในสังคม
คาดหวัง หรือ ต้องการให้เป็นในลักษณะกุลสตรี คล้ายกับ “เบญจกัลยาณี” ต่างกันตรงที่
“เบญจกัลยาณี” สะท้อนเพียงคุณค่าความงามด้านร่างกาย ได้แก่ ผมงาม เนื้องาม
กระดูกงาม ผิวงาม และวัยงาม ซึ่ง “เรือนสามนํ้าสี่” ที่ปรากฏในวรรณกรรมทักษิณ
ประกอบด้วย “เรือนสาม” ได้แก่ เรือนกาย เรือนผม และ เรือนอยู่ สำหรับ “นํ้าสี่”
ประกอบด้วย นํ้าชื่อ (นามเรียกขาน) นํ้าใช้ นํ้ากิน และนํ้าใจ ที่สำคัญ มีการกล่าวถึง
ในวรรณกรรมของไทยเกือบทุกภาค แต่ละภาคจะมีองค์ประกอบที่เหมือนและต่างกัน
ซึ่งคุณค่าของ “เรือนสามนํ้าสี่” หากหญิงใดมีองค์ประกอบครบถ้วนตามนี้จะได้รับ
การยกย่องว่าเป็นสตรีที่ดี เป็นภรรยาที่ดี และมีโอกาสได้คู่ครองที่ดี ที่สำคัญยังพบว่า
เยาวชนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “เรือนสามนํ้าสี่” เนื่องจากพบว่ามีงานที่ศึกษาเกี่ยวกับ
เรื่องนี้จำนวนน้อยกว่าในอดีต ต้นฉบับส่วนใหญ่เป็นหนังสือบุด ยากที่เยาวชนรุ่นใหม่
จะทำ ความเข้าใจเพราะส่วนใหญ่จารึกด้วยภาษาบาลี และภาษาเขมร รวมถึง
ความหวงแหนต้นฉบับของผู้ครอบครอง และขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
จากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคมที่อาจทำให้องค์ความรู้บางอย่างสูญหาย
และมีความพลวัตไปตามกาลเวลา นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองในยุคปัจจุบันมีภาระหน้าที่
มากขึ้นต้องทำงานนอกบ้านทั้งสองคนเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวในภาวะค่าครองชีพ
สูงอย่างในปัจจุบัน ผู้ปกครองจึงมีเวลาอบรมบ่มนิสัยแก่บุตรหลานสตรีเกี่ยวกับประเด็นนี้
น้อยลง ทั้งนี้ คุณค่าดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กอปรกับอิทธิพล
ของวัฒนธรรมต่างชาติที่แทรกซึมเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม สังคมทุกยุค
ทุกสมัยอย่างน้อยในภาคใต้ก็ยังคงคาดหวังให้สตรีไทยมีความเพียบพร้อมในแบบฉบับ
ของ “เรือนสามนํ้าสี่”

This study aimed to 1) determine Thai women’s values appeared in
22 titles of Patithat Literature, which reflected the Ruan Sam Nam Si attributes
in the bygone era, and 2) compare dynamics of the women’s values in the past
and at the present by using evidence from an expert forum discussion and
documentary research. Qualitative research, particularly documentary
research, was used in this study. The data were analysed and synthesised
using content analysis based on Public Administration theories: selfadministration,
human administration, and work administration. After that
reliability and validity of the data were examined, including in - depth interviews
with experts in Thai women’s values and Southern Thai literature.
The results showed that Ruan Sam Nam Si attributes were the
society’s expectations for a graceful woman who shared the physical
characteristics of “Ben-ja-kan-la-ya-nee” or five aspects of beauty: beautiful
hair, beautiful lips, beautiful teeth, beautiful skin, and with age - defying beauty.
However, “Ruan Sam” particularly referred to the body, the hair, and the house
while Nam Si referred to the woman’s name, domestic water, drinking water,
and kindness. Literature from all regions of Thailand mentioned women’s
attributes which were more or less similar to Ruan Sam Nam Si attributes.
It was believed that a woman who possessed these specific attributes would
be honoured as a great woman and a good wife, and she would find a good
husband. The research found that, unlike the older generations, most people
from the younger generations were not aware of Ruan Sam Nam Si. This is
because the concept was less discussed in contemporary studies while the
existing literature was written in ancient forms of language which was difficult
for young people to understand and the knowledge was not passed on from 

generation to generation. Additionally, in the modern society with high cost of
living, parents need to work longer hours to earn a living. Hence, they do not
place great importance in promoting the discussed values. The influences of
foreign cultures might also have had an impact on modern social values.
It can be said that the values of Ruan Sam Nam Si have changed through
time. Yet, Thai society, especially in the southern region, still expects Thai
women to possess Ruan Sam Nam Si attributes.

 

Downloads

Published

2017-12-26

How to Cite

ทองเจริญ ป. (2017). เรือนสามนํ้าสี่ : การจัดการความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของสตรีไทย ผ่านมุมมองปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้จากวรรณกรรมปฏิทัศน์ (Ruan Sam Nam Si: Knowledge Management of Thai Women’s Values from the Views of Local Intelligence Experts in Patithat Literature). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(3), 193. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/759