ศึกษาแนวคิดศีลธรรมนิยมที่ปรากฏในวรรณกรรม ของ ชาติ กอบจิตติ (A Study of Moralism in the Literature of Chart Korbjitti)
Keywords:
สุนทรียศาสตร์, ศิลปะ, ศีลธรรมนิยม, วรรณกรรม, ชาติ กอบจิตติ, Aesthetics, Art, Moralism, Literature, Chart KorbjittiAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดศีลธรรมนิยมในสุนทรียศาสตร์
2) เพื่อศึกษาวรรณกรรมของ ชาติ กอบจิตติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวคิดศีลธรรมนิยม
ที่ปรากฏในวรรณกรรมของ ชาติ กอบจิตติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยศึกษาจากทั้งเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดศีลธรรมนิยม
คือ แนวคิดที่ตัดสินคุณค่าของศิลปะจากคุณค่าทางศีลธรรม ศิลปะต้องเป็นเครื่องมือ
ที่ส่งเสริมให้เกิดมโนทัศน์ทางศีลธรรมร่วมกันทางสังคม ศิลปะจะมีคุณค่าได้ต้องเป็นศิลปะ
ที่แสดงออกถึงความดีงามตามแนวคิดของเพลโต และลีโอ ตอลสตอย วรรณกรรมของ
ชาติ กอบจิตติ มักจะมีเนื้อหาที่สะท้อนแนวความคิดทางศีลธรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
จึงได้ก่อให้เกิดคุณค่าด้านต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะคุณค่าทางศีลธรรม โทษในการหลงไป
กับกิเลสตัณหา การไม่รู้จักควบคุมความคิดและจิตใจของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อได้ศึกษา
วรรณกรรมของ ชาติ กอบจิตติ จะทำให้เกิดจิตสำนึกต่อตนเองและสังคมที่ดี คำนึงถึง
ประโยชน์ของสังคมมาก่อนตนเอง ซึ่งคุณค่าที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้สังคมเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน จนเกิดความเป็นเอกภาพในที่สุด จึงอาจถือได้ว่า ชาติ กอบจิตติ สามารถ
ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแนวคิดศีลธรรมนิยมได้
The objectives of this research were as follows: 1) to study moralism
in aesthetics, 2) to study literature work of Chart Korbjitti, and 3) to study
moralism which appears in literature work of Chart Korbjitti. This research
focuses on the qualitative analysis of the work thereof. The researcher has
studied and gathered data from both primary and secondary sources. The research
finds that moralism is an idea which ascertains value of arts by using morality
as a determinant. Arts must be a tool to support societal morality. Valuable arts
in this context mean arts which exhibit morality deriving from Plato or Leo Tolstoy’s
idea. Chart Krobjitti’s literature work reflects guiding moral principles directly
and indirectly in itself. Such moral principles especially those concerning greed,
desires and men letting such thoughts to overtake heads and minds. Upon
studying Korbjitti’s works, one thereby forms a subconsciousness with less
greed and more compassion for fellowmen by putting the benefits of society before
oneself. Such values strengthen solidarity within society and ultimately result
as societal unity. Hence, Chart Korbjitti’s idea could be classified as moralism.