ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวารสาร “อยู่ในบุญ” สุขที่พึงประสงค์ สุขได้ด้วยบุญ (Relationship between Language and Ideology in the"Yoo Nai Boon" Magazine, The Desired Happiness, Happiness Caused by Merits)

Authors

  • สุนทรี โชติดิลก Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ภาษากับอุดมการณ์, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, Language and Ideology, Critical Discourse Analysis

Abstract


บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ (Ideology) ที่ปรากฏในวารสาร “อยู่ในบุญ” โดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับวาทกรรมความสุขตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของ แฟร์คลาฟ (Fairclough) ผนวกกับแนวทางปริชานสังคมของ ฟาน ไดก์ (Van Dijk) โดยในส่วนการวิเคราะห์การผลิตและการกระจายตัวบทนั้น ผู้วิจัยอาศัยแนวทางการวิเคราะห์สถานการณ์การสื่อสารตามกรอบ SPEAKING ของ ไฮส์ม (Dell Hymes) ทำให้เห็นว่าวารสาร “อยู่ในบุญ” เป็นวารสารที่มูลนิธิธรรมกายจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน มีกระบวนการผลิตและกระจายตัวบทให้เข้าถึงผู้อ่านที่เป็นกลุ่มผู้มาร่วมกิจกรรมที่วัดพระธรรมกายและผู้บอกรับเป็นสมาชิก มีการใช้ภาษาเขียนที่ไม่เป็นทางการจึงทำให้สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ง่าย ในส่วนผลการวิจัยพบว่า ปรากฏกลวิธีทางภาษาที่มีนัยสำคัญต่ออุดมการณ์เกี่ยวกับความสุขทั้งสิ้น 8 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การเลือกใช้คำแสดงทัศนภาวะ การอ้างส่วนใหญ่ การใช้ประโยคแสดงเหตุผล การใช้อุปลักษณ์ การใช้ความเชื่อที่มีอยู่ก่อน การใช้สหบท และการใช้กระสวนประโยค กล่าวโดยสรุปความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวารสาร “อยู่ในบุญ” สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์เกี่ยวกับความสุขว่า ความคิดเรื่องความสุขเกิดจากอานิสงส์การสั่งสมบุญ ซึ่งบุญคือการบริจาคทรัพย์ และบุญที่ดีที่สุด คือ เนื้อนาบุญวัดพระธรรมกาย ในส่วนผลของการสื่ออุดมการณ์ความสุข จะสามารถโน้มน้าวใจให้ทำบุญโดยการบริจาคทรัพย์เป็นทาน เพราะทาน คือ บุญ ซึ่งบุญจะต้องมีการทำแบบการสะสม ยิ่งทำบุญมากยิ่งได้รับอานิสงส์มากและรวดเร็ว โดยการนิยามความหมายความสุขที่พึงประสงค์หรือการได้รับอานิสงส์ของบุญนั้นก็คือ ความร่ำรวยนั่นเอง

      The objectives of this article is to analyze relationship between language
and ideology appeared in the "Yoo Nai Boon” Magazine. The study focuses on
discourse of happiness according to critical discourse analysis of Fairclough
combined with social cognitive analysis approach of Van Dijk. Regarding the
analysis of production and content format of the magazine, the researcher
adopted communicative analysis within the framework of SPEAKING model
developed by Dell Hymes. It was found that "Yoo Nai Boon” Magazine is
published by the Dhammakaya Foundation to promote merit making. The
production and format process aim to access a group of readers who are
members and participated in the Dhammakaya Temple. The language used in
the magazine is informal so that readers can understand the text easily. The
research results showed that there are eight writing techniques which have
significant impact on happiness ideology. The techniques are use of terminology,selection of the visual environment, frequent used citations, use of sentences to express reasons, use of metaphor, use of pre-existing beliefs, use of intertextuality and sentence pattern. In summary, the relationship between language and ideology in the "Yoo Nai Boon” Magazine reflects that happiness emerges as a result of accumulation of merit making which is to donate property. The best merit act is to make merit to Dhammakaya Temple. The effect of promoting happiness ideology is to attract people to make merits by donating their properties. It is because donation is merit which should be accumulated. The more one accumulate, the more merits and faster the good deeds will return to the person. By definition, the desired happiness or benefit of merits is wealth and richness.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

โชติดิลก ส. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวารสาร “อยู่ในบุญ” สุขที่พึงประสงค์ สุขได้ด้วยบุญ (Relationship between Language and Ideology in the"Yoo Nai Boon" Magazine, The Desired Happiness, Happiness Caused by Merits). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(2), 165–200. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/77