การสร้างความปรองดองภายหลังความรุนแรงในรวันดา : บทเรียนสำหรับสังคมไทย (Reconciliation After Violence in Rwanda : Lesson for Thai Society)
Keywords:
ความปรองดอง, ความรุนแรง, บทเรียน, Reconciliation, Violence, LessonAbstract
เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาเมื่อ 18 ปี ที่ผ่านมา มีผู้สูญเสียชีวิตนับล้านคนในระยะเวลาเพียงแค่ 4 เดือน เป็นความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่สะสมและก่อตัวมาอย่างต่อเนื่อง การที่คนต่างเผ่าจะลุกขึ้นมาสังหารคนอื่นนั้นย่อมต้องมีทัศนคติที่เห็นว่าอีกฝ่ายมิใช่คนหรือมีคุณค่าต่ำกว่าความเป็นคน ประกอบกับสภาพสังคมที่มีความไม่เป็นธรรมที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงได้โดยง่าย แม้ว่าความรุนแรงจะขยายตัวไปในทุกระดับของรวันดา ชาวรวันดาก็สามารถก้าวข้ามพ้นความรุนแรงและความเกลียดชัง ไม่มีการแบ่งแยกชาวฮูตูและตุ๊ดซี่อีกต่อไป มีแต่ชาวรวันดาเท่านั้น การจัดการกับปัญหาความรุนแรงดังกล่าว น่าจะเป็นบทเรียนให้คนในสังคมไทยได้เรียนรู้ร่วมกันถึงหนทางไปสู่การสร้างสันติภาพอย่างมั่นคงต่อไป
The Rwandan Genocide was the 1994 mass murder of a million people in
the small East African nation of Rwanda. This event did not happen in just one
day but it was established for long time before the violence being used. What
can made one human being in one tribe deciding to kill human being in other
tribe may be a hostile attitude towards the others such as by considering other
human as animals. This attitude may be fueled and become violence easily if there was unfair condition in the society. However, the experience of Rwanda after the genocide event showed that even violence occurred in every level of Rwanda, Rwandan were taught not to hate each other–Hutu and Tutsi can live together in the same community. Therefore, the lesson of conflict resolution taken from the Rwandan case would provide some idea for Thailand to reconciled its society.