โจรในร่างศิลปิน (A Bandit Mind’s in the Body of an Artists)

Authors

  • อาภรณ์ อุกฤษณ์ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ร่างกาย, ศิลปิน, โจร

Abstract

ชุมชน โคกยางในอดีต เป็นถิ่นทุรกันดารที่ผู้คนต่างถิ่นเข้าไปบุกเบิกป่าหาที่ทำกิน เป็นทางผ่านและเป็นแหล่งซ่องสุมโจรผู้ร้ายจนเป็นที่เลื่องลือ ขณะเดียวกันชุมชนโคกยางยังได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านศิลปินหลากหลายประเภท โดยเฉพาะศิลปินพื้นบ้านด้านการแสดง อาทิ ลิเกป่า มโนห์รา หนังตะลุง ศิลปินบางคนเป็นโจรด้วย
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญที่มุ่งหาคำตอบว่า ในชุมชนเดียวกัน ในคนๆ เดียวกันเป็นทั้งโจรผู้ร้ายที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้คนและเป็นศิลปินที่ ให้ความสุข ความบันเทิง แก่ผู้คนด้วย เป็นได้อย่างไร มีเหตุปัจจัย หรือวิถีและพลังอะไรที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของชุมชนให้เป็นไปเช่น นั้น มีค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และวิถีชีวิตที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร และด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนผ่านชุมชนดังกล่าวมีพลวัตวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตไปในทิศทางใด
ผลการวิจัยพบว่า แม้วิถีและพลังแห่งโจรและศิลปินจะแตกต่างกันแต่สามารถดำรงอยู่ควบคู่กันไป อย่างกลมกลืนด้วยเหตุปัจจัยที่ต่างตอบสนองความต้องการพื้นฐานร่วมกันได้เป็น อย่างดี อีกทั้งทุนทางสังคมที่มีให้กัน ทั้งความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน และการพึ่งพาอาศัยกันบนพื้นฐานของความเป็นเครือญาติกัน โดยมีค่านิยม ความเชื่อและจรรยาบรรณโจรเป็นเครื่องควบคุมสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปความเจริญเข้ามาพร้อมกับการศึกษา สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยม ความเชื่อและทัศนคติของผู้คนก็เปลี่ยนตามไปด้วยอย่างเป็นพลวัต จึงเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า ในอนาคตแม้การลักขโมยยังคงมีอยู่บ้าง แต่อัตลักษณ์ของโจรเปลี่ยนไป โดยจะไม่มีพลังอำนาจให้กับโจรเยี่ยงในอดีต ส่วนศิลปินด้านการแสดงพื้นบ้านในชุมชนโคกยาง แม้ความนิยมจะน้อยลง แต่ยังคงอยู่ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ตราบเท่าที่ยังมีการสืบทอดสู่เยาวชนเช่นในปัจจุบัน และยังคงมีผู้ให้คุณค่ามากกว่าการเป็นโจร


The small community of Kok Yang in the past was a rugged area opened up and ventured into by those seeking land for cultivation. It was also a route to be passed through and notoriously known as the rendezvous and gathering place of bandits. Yet at the same time this community also gained its name as the village of various folk arts in particular folk performances such as Li Kay Pa, Manohra and shadow puppet. This meant that in very same community lived the artists who were also bandits.
This study aimed to determine how in the old time the community like Kok Yang became the place where the same group of bandits who caused woes and troubles to people simultaneously could be folk artists giving fun and pleasure to those many people. If so, what were the justifications or driving forces for such phenomenon? And did their beliefs, values, attitudes, and lifestyles harmonize or lash with each others? Also did the passage of time bring about dynamic of culture and their identities and lifestyles later on?
The result of the study revealed that even though the driving forces and ways of life of the artists and the bandits did differ, surprisingly they co-existed harmoniously. This was due to the fact that their different factors actually responded to the basic social needs, thus fostering love, unity, attachment, and inter-dependence, within the community so much based on kingship and controlled by the values, beliefs and ethics of bandit groups. Over the years, changes were apparent including those in education, social beliefs and values and attitudes. There were indications that although theft continued to exist the identities of the bandit groups were changed without their former influential and powerful realm, whereas the folk artists have survival and continued to perform. The folk arts have been and will be carried on for a certain time to come provided that they are conserved as in the present situation and deemed as being more valuable and beneficial than the bandit’s codes of conduct.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

อุกฤษณ์ อ. (2014). โจรในร่างศิลปิน (A Bandit Mind’s in the Body of an Artists). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(2), 35–62. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/82