อาเจะห์ อารูห์ – อุยงคตนะ ถึงโจรสุหรั่ง (Aceh Aruh – Hujungkhatana to Surang Pirate)
Keywords:
บูกิส, สุหรั่ง, อารูห์, อาเจะห์, อุยงคตนะ, แขกมักกะสัน, โจรสลัดAbstract
น่านน้ำทะเลใต้ในอดีต มีโจรสลัดที่ผู้คนเกรงกลัว คืออาเจะห์ อารูห์ จากแหลมสุมาตรา และอุยงคตนะจากแหลมมลายู โจรสลัดดังกล่าวนี้นอกจากปล้นสะดมผู้คนและสินค้าแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นพ่อค้าขายสินค้าเถื่อนหรือนำสินค้าที่ปล้นได้ไปวางจำหน่าย ตามตลาดเมืองท่าต่างๆ อีกประการหนึ่งโจรสลัดมีฐานทัพเรือตามช่องแคบและหมู่เกาะ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ เช่น ขุนนาง หรือเจ้าเมือง โจรสลัดจึงสามารถนำขบวนเรือดังขบวนทัพ เข้าปล้นเมืองริมฝั่งทะเล เช่น พัทลุง และนครศรีธรรมราช เคยตกเป็นเหยื่อมาแล้ว ข่าวคราวของโจรสลัดเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเหตุให้สุนทรภู่กวีสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นำมาเล่าไว้ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี โดยสมมุติให้หัวหน้าโจรสลัดเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ สุหรั่ง เที่ยวปล้นเรือสินค้าในทะเล ในที่สุดจบชีวิตด้วยสินสมุทร โอรสพระอภัยมณี นอกจากนี้อาเจะห์ อารูห์ และอุยงคตนะ กวีชาวใต้นำมาบอกเล่าไว้ในบทประพันธ์ เช่น เรื่องนางเลือดขาว วรรณกรรมท้องถิ่นเมืองพัทลุงMore than two centuries ago, two groups of pirates – the Aceh Aruh from the Sumatra Peninsula and the Hujungkhatana from the Malay Peninsula dominated the Southern Sea and were much feared by the people. These pirates, robbing people and traders, also acted as merchants themselves selling stolen goods at various ports. With large fleets stationed around capes and islets and were backed by local rulers, these pirates were able to lead their fleets to rob coastal settlements. Patalung and Nakhon Srithammarat were just examples of those who fell victimized. The news about the pirates was so widely spread that Soonthorn Phu, a dominant poet during the reign of King Rama II of the Ratankosin Era had mentioned them in his famous novel “Phra Abaimani”. In this novel, the leader of the pirates was depicted as an Englishman named “Surang,” who wandered the sea to rob merchant fleets, and was eventually killed by Sinsamutra, the elder son of Phra Abaimani. Moreover, the names of Aceh Aruh and Hujungkhatana Pirates were mentioned in local folktales such as “the White-blood Princess (Nang Leud Khao), a folklore of today’s Patalung Province
Downloads
Published
2014-11-26
How to Cite
เรืองณรงค์ ป. (2014). อาเจะห์ อารูห์ – อุยงคตนะ ถึงโจรสุหรั่ง (Aceh Aruh – Hujungkhatana to Surang Pirate). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(2), 21–34. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/85