การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ : เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี (Critical Reading: Concept - Oriented Reading Instruction (CORI) Techniques with REAP Strategies)
Keywords:
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI), กลวิธีอาร์ อี เอ พี, Critical reading, Concept - Oriented Reading Instruction (CORI) Techniques, REAP StrategieAbstract
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านระดับสูงที่ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างรอบคอบ สรุปสาระสำคัญ ทั้งเข้าใจความหมายโดยนัยของถ้อยคำ อารมณ์ จุดประสงค์ของผู้เขียน สามารถแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เพื่อตัดสินประเมินค่าสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ทักษะดังกล่าวจึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสามารถพัฒนาได้ด้วยเทคนิคการอ่านแบบเน้น มโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนซึ่งเน้นการฝึกทักษะการอ่านอย่างพินิจพิจารณาใคร่ครวญ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ และประเมินค่า อีกทั้งพัฒนาทักษะการคิดมีการเขียนไปพร้อมกัน โดยการประสานความคิด ประสบการณ์เดิม ประสบการณ์ใหม่ที่เรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิด กับกลุ่มเพื่อนจากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องมาประสานให้มีความสอดคล้องกัน
สามารถอธิบายถ่ายทอดออกมาเป็นความคิดรวบยอด โดยมีขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สังเกตและสำรวจตนเอง ขั้นที่ 2 ค้นคว้า ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจและวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 4 นำเสนอผลการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นที่ 6 คิดพิจารณาผลการอ่าน ซึ่งในแต่ละขั้นเป็นการเชื่อมโยงตั้งแต่การสรุปธรรมดาไปจนถึงการโต้ตอบอย่างมีวิจารณญาณและวิพากษ์วิจารณ์ในระดับสูง ส่งผลลัพธ์ให้เกิดความรู้ด้านข้อมูลอันเต็มเปี่ยมในขณะเดียวกันผู้อ่านจะได้มีการพัฒนาด้านการอ่าน การพัฒนาด้านการเขียน พัฒนาด้านการคิดที่มากขึ้น และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ดีขึ้น
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. นนทบุรี :
สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง.
ตวงรัตน์ คูหเจริญ. (2542, พฤษภาคม - สิงหาคม). ทัศนะของอาจารย์ภาษาไทยต่อ
การสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐานระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย. 19(2), 102 - 110.
ว.วชิรเมธี. (2552). สั่งให้อ่านหรือสร้างแรงบันดาลใจให้รักการอ่าน. เนชั่นสุด
สัปดาห์. 18(905), 56-57.
สุจิตรา จรจิตร. (2557, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักศึกษาใน
สถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ของไทย. วารสารสงขลานครินทร์. 9(1), 45.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2557). การพัฒนาการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์
(CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน
ภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พันธุ์ทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว. (2545 มิถุนายน). ปัญหาการสอนย่อความในระดับ
อุดมศึกษา. วารสารวิชาการ 5(6), 51- 58.
ณันท์ขจร กันชาติ. (2550). ผลของการสอนอ่านแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถใน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร
มหาบัณทิต สาขาหลักสูตรและการสอน. กำแพงเพชร : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อังคณา ชัยมณี. (2540). การใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อ
ความเข้าใจโดยใช้กระบวนการ เรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคการแข่งขัน
ระหว่างกลุ่มเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประถมศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
อุบลวรรณ ปรุงวณิชพงษ์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดย
ใช้กิจกรรมการอ่าน ให้คล่องสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Education Objectives :
The Classification of Education Gaols. New York : David Mckay.
Graves. M.F. and Graves, B.B. (2003). Scaffolding reading
experiences : designs for student success. 2 nd ed.
Massachusetts : Christopher- Gordon.
Harris, L.A. and Smith, C.B. (1986) .Reading Instruction. New York :
McMillan Publishing Company.
Wood, N.V. (1997). Collegs Reading instruction as reflected by
current textbooks. Journal of Collegs Reading and Learning.
(3), 79 - 95
Roe, B.D, Stood, B.D, and Burn, P.C. (2001). Secondary School
Literacy Instruction: The Content Areas. Boston:
Houghton Mifflin Charter of 1908: a textual-historical analysis.
LanguagePolicy. 1449–65.