การขอโทษในปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาว ของบุคคลในวงการบันเทิงไทย (Apology in the Discourse of Press Conference on Thai Entertainers’Scandals)

Authors

  • ประไพพรรณ พึ่งฉิม ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การขอโทษ ปริจเฉทสื่อสารมวลชน, บุคคลในวงการบันเทิงไทย, การกู้ภาพลักษณ์, Apology, Public discourse, Public figures, Image repair

Abstract

บทความนี้ศึกษากลวิธีการขอโทษของบุคคลในวงการบันเทิงไทยในปริจเฉทการ
แถลงข่าวอื้อฉาว ข้อมูลการขอโทษที่ใช้ในการศึกษาเก็บจากปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาว
ของบุคคลในวงการบันเทิงไทยที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่
1 มกราคม พ.ศ. 2551 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 รวมทั้งสิ้น 37 ปริจเฉท เมื่อพิจารณา

กลวิธีการแสดงวัจนกรรมการขอโทษในลักษณะชุดวัจนกรรม พบว่า ประกอบด้วย
5 กลวิธีหลัก ดังนี้คือ 1) การใช้กลไกแสดงวัจนกรรมการขอโทษ 2) การยอมรับความผิด
3) การอธิบายแบบแก้ตัว 4) การสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก และ
5) การเปรียบเหตุการณ์ความผิดพลาดให้เป็นบทเรียนกลวิธีดังกล่าวมีทั้งส่วนที่เหมือนและ

แตกต่างจากผลการศึกษาเรื่องการขอโทษระหว่างบุคคลที่ผ่านมา ความแตกต่างของกลวิธี
ที่ปรากฏในการขอโทษประเภทนี้อธิบายได้ด้วยปริบทของสถานการณ์การสื่อสารที่ผู้พูดมี
วัตถุประสงค์ของการขอโทษแบบที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือกู้ภาพลักษณ์ที่เสียไปเพื่อ
เรียกคืนความนิยมชมชอบในตัวตน อันจะน

Downloads

Published

2018-04-30

How to Cite

พึ่งฉิม ป. (2018). การขอโทษในปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาว ของบุคคลในวงการบันเทิงไทย (Apology in the Discourse of Press Conference on Thai Entertainers’Scandals). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 10(1), 49–90. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/863