ส่องผี เลาะผ้า ในสาปภูษาและรอยไหม (Observing the Ghost, Unseaming the Silk in the Sab Phu Sa and the Roi Mai)

Authors

  • สิขรินทร์ สนิทชน นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

นวนิยายผี, ชนชั้น, เพศสถานะ, ชาติพันธุ์, Ghost Story, Social Class, Gender, Ethnic

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายผีของพงศกรว่า มีอุดมการณ์หรือ
แนวคิดเชิงสังคมใดบ้างที่กำกับความหมายของ “ผี” และ “ผ้า” ในนวนิยายเรื่องสาปภูษา
และรอยไหม ผลการศึกษาพบว่า ขอบเขตความสามารถของตัวละครผีในนวนิยายทั้งสองเรื่อง
ถูกกำหนดด้วยชนชั้น โดยหากมีชนชั้นที่สูงก็จะมีพลังอำนาจมากตามไปด้วย ส่วนเรื่องเพศ
จะส่งผลต่อบทบาทของตัวละครผีในแง่ของคุณธรรมและความดีงาม ซึ่งเพศหญิงมักตก
เป็นรองฝ่ายชาย ทั้งยังพบอีกว่า ผ้าไหมในนวนิยายถูกใช้เป็นพื้นที่เพื่อแย่งชิงความหมาย
เชิงชาติพันธุ์ระหว่างความเป็นไทยและความเป็นลาว ซึ่งความเป็นไทยถูกตัวบทจัดวาง
ให้อยู่เหนือกว่าความเป็นลาว

This article has studied ghost stories written by Pongsakorn, a Thai
novelist, to find out which social ideologies and thoughts were used to define
“ghost” and “silk” in two novels called the Sab Phu Sa (The Cursed Cloth) and
the Roi Mai (The Memory in Silk). The findings showed that the abilities of
ghost characters in both stories were determined by their social class; the
higher the social class, the stronger the power. The ideology of gender also
affected the ghost characters in terms of morality, in which females were
usually inferior to males. Moreover, it was found that the silk was used as
a symbol for the struggle between ethnic meaning of “Thainess” and “Laoness”
and both stories place Thainess above Laoness.

Downloads

Published

2018-04-30

How to Cite

สนิทชน ส. (2018). ส่องผี เลาะผ้า ในสาปภูษาและรอยไหม (Observing the Ghost, Unseaming the Silk in the Sab Phu Sa and the Roi Mai). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 10(1), 153–172. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/865