แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตยที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (Concepts and Theories in Constitutional Law with Sovereignty.Appears in the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550)

Authors

  • สิทธิกร ศักดิ์แสง Suratthani Rajabhat University
  • ณฐภัทร ถิรารางค์กูล Suratthani Rajabhat University

Keywords:

รัฐธรรมนูญ, อำนาจอธิปไตย, อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ, อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน, Constitutional, People Sovereignty, Sovereignty National Sovereignty

Abstract

ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 นำแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาใช้ด้วยกัน คือ การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ เช่น บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เช่น การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในการใช้อำนาจอธิปไตย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 50,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย (ร่างพระราชบัญญัติ) การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,000 ชื่อเข้าชื่อยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติในเรื่องที่มีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของชาติหรือประชาชน

The Constitution provisions of the Kingdom of Thailand BE 2550 introduced the concept of the national sovereignty and the people sovereignty. The national sovereignty is every person has a duty to maintain independence and security of the State, to support all religions to last long, to uphold the King as Head of the State, to adhere democratic regime of government with the King as Head of State, to exercise their right to vote at an election, to serve in the armed forces, to pay taxes, to receive education and training, to conserve the national arts and culture and local traditional knowledge and to conserve natural resources and the environment as provided by law. The people sovereignty is people having right to vote of not less than ten thousand in number shall have a right to submit a petition to the President of the Nation Assembly to consider the Bill,  people having right to vote of not less than twenty thousand in number shall have a right to submit a petition to the President of the Senate to pass a resolution and removing persons from office, and eligible voters of not less than fifty thousands in number shall have a right to submit a draft Constitutional amendment to the House of representatives and people having the rights to vote shall have the right to vote in a referendum that any issue may affect national or public interest.

Downloads

Published

2014-12-15

How to Cite

ศักดิ์แสง ส., & ถิรารางค์กูล ณ. (2014). แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตยที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (Concepts and Theories in Constitutional Law with Sovereignty.Appears in the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(1), 199–220. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/92