การลดความผิดทางอาญาของยาเสพติด และการลดอันตรายจากการเสพยาเสพติด(The Legal Concept to Control Drug : Decriminalization & Harm Reduction)

Authors

  • ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

Keywords:

ความผิดทางอาญา, เสพยาเสพติด, อันตราย, Criminal, Drugs, Dangerous

Abstract

สารเสพติด ถูกใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษามาอย่างยาวนาน ใน
ขณะเดียวกันก็ถูกใช้ในการแสวงประโยชน์ทางการเงินจากผู้เสพติดด้วย อันนำ
มาซึ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์ จนท้ายที่สุด องค์การสหประชาชาติ
ได้มีมติที่จะต้องกำจัดยาเสพติดให้สิ้นไปจากมวลมนุษยชาติ หรือ the zerotolerance
approach โดยกำหนดเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น Single
Convention on Narcotic Drugs of 1961, Amended in 19722 (ซึ่งจะเรียก
ว่า อนุสัญญา 1961), The Convention on Psychotropic Substances,
1971 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1971)13 และ United Nations Convention
Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances
of 1988 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1988)4 ให้ประเทศภาคีสมาชิกร่วมกันดำเนิน
การกำจัดยาเสพติดและขจัดความทุกข์ทรมานของผู้ติดยาเสพติดให้สิ้นไป 

อนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องออกกฎหมาย
กำหนดฐานความผิดและโทษอาญารุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดมาเป็น
เวลายาวนาน แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับไม่ได้ผลตามเป้าหมาย zerotolerance
approach แต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลุ่มประเทศยุโรป
โดยเฉพาะโปรตุเกสได้ใช้นโยบายลดความผิดทางอาญาของยาเสพติดลง
(Decriminalization) ควบคู่กับนโยบายรักษาผู้ติดยาภาคสมัครใจและเป็น
ความลับ (Harm reduction process) โดยไม่มีกระบวนการทางคดีอาญา
ด้วยแต่ประการใด แต่ทำให้จำนวนผู้ติดยาเสพติดและผู้ติดเชื้อ HIV ลดลงด้วย
แต่ในประเทศที่ประกาศสงครามกับ ยาเสพติดอย่างรุนแรงจะมีแต่การเสีย
งบประมาณพร้อมกับชีวิตประชาชนจำนวนมาก ดังที่เกิดในประเทศ Mexico
ในช่วงปี ค.ศ. 2006-2010 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 30,000 ราย สำหรับประเทศไทย
ได้ยึดถือทั้งสองแนวทาง ตั้งแต่การเพิ่มโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้รุนแรงยิ่งขึ้น
และบังคับให้ผู้เสพและผู้จำหน่ายรายย่อยเข้ารับการบำบัด5 แต่ดูเหมือนไม่มี
สัญญาณบ่งชี้ถึงความสำเร็จแต่ประการใด ผู้เขียนเห็นว่า การรักษาภาคสมัคร
ใจโดยไม่มีกระบวนการทางอาญาเข้าไปเกี่ยวข้องจะลดปัญหายาเสพติดในสังคม
ไทยได้ การนำแนวคิดว่าด้วย Decriminalization and harm reduction มา
ใช้ในสังคมไทย จึงจำเป็นสำหรับสังคมไทย บทความนี้ ได้นำแนวคิดในการลด
การเป็นความผิดมากล่าวไว้พอสังเขป ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในรายงาน
วิจัยที่เสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ส. ต่อไป

Drug has been long used in medical treatment in the long
history of human society and simultaneously has been financially
exploited from drug addicted users and brings about criminal
commission in several dimensions. The United Nations, then, seted 

up the policy of “zero-tolerance approach” in the Single Convention
on Narcotic Drugs of 1961, Amended in 1972 (called as Convention
of 1961), the Convention on Psychotropic Substances, 1971 (called
as Convention of 1971) 1 and the United Nations Convention Against
Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances of 1988
(called as Convention of 1988) and imposed its Nations’ members
to completely root out the drugs and torment of the durg users.
Those Conventions demand all parties to impose criminal
penalty severely for a long time, but law enforcement has not
been absolutely successful under the concept of zero-tolerance
approach. In constrast, the drug absuses seem to be more seriously
problematic. Many European countries turn back from such
approach to “Decriminalization and Harm reduction approach.”
For instance, Portugal government has officially declared to
decriminalize all kinds of drugs in different ways, and motivate
drug users to get medical treatment voluntarily under the program
of Harm reduction process, without criminal sanction but subject
to the administrative practice. The latter policy seems successful
based on the HIV infection of the drug users are critically decreased,
while the countries declaring the war against drug, for example,
Mexico, during 2006 – 2010, cause the death and casualties over
30,000. Thailand has accepted the former approach in the past
and attempted to adopt “Compulsory Rehabilitation Treatment
Process” but no signs of success. The author suggests the the latter
approach under the concept of decriminalization of some drugs
and voluntary harm reduction approach might be more successfully
useful. All details will be delineated as followings.

Author Biography

ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

Law SRU

Downloads

Published

2018-03-09