แนวทางการพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีมรดก เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดิน ตามร่างพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(System development Inheritance Tax Particularly with respect to housing and land by the land and building tax draft)

Authors

  • จินตนา อุณหะไวทยะ

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, ระบบการจัดเก็บภาษีมรดก โรงเรือน ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง, Developmental Approach, Legacy Taxation System, Greenhouse, Land and Building

Abstract

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่
ผ่านมา จะเห็นได้ว่า “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจ สังคม
หรือการเมือง ก็ยังคงดำรงอยู่ควบคู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด เครื่องมือทางการ
คลังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม
ซึ่งรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทั้งนโยบายทางด้านรายรับและนโยบายทางด้าน
รายจ่าย การปฏิรูปภาษีด้วยการจัดเก็บ “ภาษีทรัพย์สิน” นับว่าเป็นเครื่องมือ
หนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม และยังสามารถสร้างรายได้ให้
กับรัฐอีกด้วย ซึ่งประเทศต่างๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือ
ประเทศกำลังพัฒนา ได้มีการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ในขณะที่ประเทศไทยยัง
ไม่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินอย่างแท้จริง การนำเสนอการปฏิรูปภาษีของ
รัฐบาล โดยเฉพาะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก จึงเป็นประเด็น
ที่น่าสนใจว่า การจัดเก็บภาษีทั้งสองประเภทนี้จะทำให้เกิดผลอย่างไรบ้างต่อ
ระบบเศรษฐกิจและประชาชน คนกลุ่มไหนจะเป็นผู้ที่ต้องชำระภาษี และคน
กลุ่มไหนจะได้ประโยชน์จากภาษีดังกล่าว บทความนี้จะนำเสนอโดยเริ่มจาก
การให้ภาพการกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย เพื่อจะได้ทราบว่าการ

ถือครองทรัพย์สินของคนในประเทศไทยมีลักษณะการกระจุกตัวหรือมีการ
กระจายตัวอย่างไร ส่วนที่สองว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะกล่าวถึง
หลักการและเหตุผลในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และผลที่จะเกิด
ขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ส่วนที่สามว่าด้วยภาษีมรดก โดยกล่าวถึงหลักการ
ในการจัดเก็บภาษีมรดก การจัดเก็บภาษีมรดกในประเทศไทย และผลที่จะ เกิด
ขึ้นจากการจัดเก็บภาษีมรดก ส่วนสุดท้ายจะกล่าวถึงความเห็นต่อภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้างและภาษีมรดก

Thailand’s economic and social development over the past
decades has seen the “disparity” in economic, social, or political
terms continue to coexist with the Thai society. Fiscal instruments
are one tool to help equality of people in society. The government
can carry out both revenue and tax revenue collection policies.
“Property tax” is a tool to reduce. Inequalities occur in society. And
it can also generate revenue for the state as well. The countries of
the world whether they are developed or developing countries.
This type of taxation has been collected while Thailand has no
real property taxation. Presentation of government tax reform
especially tax on land and buildings and inheritance tax is an
interesting point. How will these two types of taxation affect the
economy and the people? Which group of people will pay tax?
And who would benefit from such a tax? This article will begin with
a picture of the concentration of wealth in Thai society. To know
how the ownership of people in Thailand is characterized by the 

concentration or distribution. The second part is the tax on land
and buildings. This will discuss the principles and rationale for land
and building taxation, and the consequences of land taxation. The
third part is related to the tax on inheritance by referring to the
principle of legacy taxation. Legacy inheritance in Thailand and the
consequences of inheritance levy. The final section will discuss the
views on land and buildings taxes and inheritance taxes.

Author Biography

จินตนา อุณหะไวทยะ

Law SRU

Downloads

Published

2018-03-09