สิทธิชุมชน ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Community Rights in Management, Maintenance, and Utilization of Natural Resources and Environment)
Keywords:
สิทธิชุมชน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, Community Rights, Natural Resource and Environment ManagementAbstract
งานศึกษานี้จะศึกษาถึงสิทธิชุมชน ในการจัดการ การบำรุงรักษา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 วัตถุประสงค์ของการ
ศึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบ การจัดการ บำรุงรักษา การใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืนในประเทศไทย
และวิเคราะห์การนำแนวคิดของ Eilinor Ostrom ในการจัดการทรัพยากร
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาปรับใช้สิทธิชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ วิธีการ
ศึกษาวิจัยโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary Research) ซึ่งจะ
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร
ผลการศึกษา แนวความคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของ
ประเทศไทยในปัจจุบันซึ่งแยกออกเป็น 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบ
ที่การให้รัฐเข้าไปบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง รูปแบบที่ 2 การที่รัฐ
ให้เอกชนสัมปทาน ให้สิทธิ์แก่เอกชนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ
รูปแบบที่ 3 เป็นการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน แต่การจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติในรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าไม่ประสบความ
สำเร็จ ปัจจุบันรูปแบบที่ 3 เป็นที่ยอมรับและมีการรับรองไว้ในบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการกำหนดกติกาการจัดการทรัพยากรร่วมตามแนวความคิดของ Eilinor
Ostrom สามารถใช้เป็นฐานแนวความคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของ
ประเทศไทย ในการจัดการทรัพยากรร่วมมีลักษณะกติกา 3 ระดับ ได้แก่ 1)
กติการะดับปฏิบัติการ (Operational Rules) ที่เกิดจากผู้จากใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรกำหนด 2) กติกากำกับทางเลือกร่วม (Collective Choice Rules)
เป็นการให้ผู้ใช้ทรัพยากร ผู้มีอำนาจภายนอก หรือเจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบาย
การบริหารจัดการทรัพยากร 3) กติการะดับธรรมนูญ (Constitutional Rules)
เป็นการให้ผู้มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการ
กำหนดกติกา โดยมีกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการกำหนดกติกาในการจัดการ
ทรัพยากรร่วม อยู่ 8 ประการ การที่ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดกติกาย่อมทำให้กติกา
ที่กำหนดโดยชุมชนนั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งนำ
ไปสู่การจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
This research studied about Community Rights in
Management, Maintenance, and Utilization of Natural Resources
and Environment according to the Constitution law of the Kingdom
of Thailand 2017. The purposes of this research are to study
and analyze the foundation rules about the communities, their
uniqueness as well as their rights, in order to comprehend the
community rights as written in the Constitution Law of the Kingdom
of Thailand.
This research also studied the community participation
patterns along with the problem analysis to find the solution in
Management, Maintenance and Utilization of Natural Resources and
Environment in order to create the sustainable usage as stated in
the Constitution Law and also harmonize with Thai culture.
The research method is Documentary Research. The study
found that Thailand’s Natural Resources Management pattern can
be divided into 3. First pattern is Direct Government Management,
second is Government Concession Management and third
pattern is Community Management. However, Direct Government
Management and Government Concession Management were
proved inefficient whereas the Community Management has been
well accepted and certified in the Constitution law of the Kingdom
of Thailand 2017.
The Community Participation according to Eilinor Ostrom’s
methods have 3 levels in Natural Resource Management Participation
which are 1) the Operational Rules which settled by the users,
2) the Collective Choice Rules which settled by users, persons in
authority or officers, 3) the Constitution Rules which allowed the
people who have rights to cooperate and settle the rules. There
are 8 rules for the Natural Resource Management Participation and
because all the rules are settled by the community, they should
be consistent to the way of life and identity of the community.