ปัญหาผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: ศึกษากรณีการรับโทษตามกฎหมายอื่น Problem of Offender according to the Domestic Violence Victim ProtectionAct, B.E. 2550: Case Study of Sentenced according to Oth

Authors

  • วุฒิไชย ทองเสภี

Keywords:

ผู้กระทำความผิด, ความรุนแรงในครอบครัว, โทษตามกฎหมายอื่น Offender, Domestic Violence, Sentence according to other law

Abstract

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผู้กระทำความรุนแรงแก่บุคคลในครอบครัวที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหกเดือน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่นร่วมด้วย ถ้าการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายอื่นและมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน จะต้องดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่น        ซึ่งมีศาลจังหวัด ศาลอาญา เป็นอาทิ

การค้นคว้าครั้งนี้ ได้ทำวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องถูกดำเนินคดีต่อศาลอื่น    ที่มีคดีคั่งค้างอยู่จำนวนมาก ระบบวิธีพิจารณาคดีมีขั้นตอนยุ่งยาก มีแนวคิดตัดสินผู้กระทำผิดเชิงลงโทษเพื่อให้หลาบจำ ยิ่งกว่าหวังฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับไปเริ่มชีวิตในครอบครัวได้อีกครั้ง จึงเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตรงประเด็น

            ปัญหาดังกล่าว จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยการเพิ่มอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินสามปี ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ     ถ้าการกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี และเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ให้พิจารณาคดีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีผู้พิพากษาเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะสมยิ่งกว่าศาลอื่น หากในทางพิจารณาถ้าอัตราโทษจำคุกเกินกว่าสามปี ซึ่งน่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง         ยากแก่การฟื้นฟู จึงควรเป็นหน้าที่ของศาลอื่นจะนำไปพิจารณา

 

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผู้กระทำความรุนแรงแก่บุคคลในครอบครัวที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหกเดือน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่นร่วมด้วย ถ้าการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายอื่นและมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน จะต้องดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่น        ซึ่งมีศาลจังหวัด ศาลอาญา เป็นอาทิ

การค้นคว้าครั้งนี้ ได้ทำวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องถูกดำเนินคดีต่อศาลอื่น    ที่มีคดีคั่งค้างอยู่จำนวนมาก ระบบวิธีพิจารณาคดีมีขั้นตอนยุ่งยาก มีแนวคิดตัดสินผู้กระทำผิดเชิงลงโทษเพื่อให้หลาบจำ ยิ่งกว่าหวังฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับไปเริ่มชีวิตในครอบครัวได้อีกครั้ง จึงเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตรงประเด็น

            ปัญหาดังกล่าว จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยการเพิ่มอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินสามปี ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ     ถ้าการกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี และเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ให้พิจารณาคดีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีผู้พิพากษาเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะสมยิ่งกว่าศาลอื่น หากในทางพิจารณาถ้าอัตราโทษจำคุกเกินกว่าสามปี ซึ่งน่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างยิ่งยากแก่การฟื้นฟู จึงควรเป็นหน้าที่ของศาลอื่นจะนำไปพิจารณา

 

            This research article aims to investigate the domestic violence offenders sentenced to imprisonment up to six months. According to the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 (2007), the alleged offenders shall be prosecuted within the jurisdiction of the Juvenile and Family Court for the case not against other laws. However, in case such action is a guilty against other laws with the penalty rate of imprisonment over six months, the alleged offenders also shall be prosecuted in a court according to such other law such as provincial court or criminal court.

            This study conducted the qualitative research by studying documents. It was found that when the domestic violence offender was prosecuted in other court piled up many unsettled cases and having complicated processes, the court was likely to impose a punitive sentence against offenders to make them chastened rather than rehabilitating the offenders to rebuild their family life. This law enforcement was undertaken incorrectly.

            This problem should be solved by amending the act. According to the new amendment, the imprisonment sentence will be increased to up to three years and the case will be prosecuted within the jurisdiction of the Juvenile and Family Court. In case such offence carries a penalty of imprisonment up to three years and breaches other laws, the domestic violence case and other guilty should be prosecuted within the jurisdiction of the Juvenile and Family Court which its judge is a specific expert and the most suitable court. In case the sentence is considered carrying a penalty of imprisonment over three years which might affect or destroy the family relationship seriously, it should be other court’s responsibility for the trial. 

 

Author Biography

วุฒิไชย ทองเสภี

Law SRU

Downloads

Published

2018-04-03