เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย “เขียนตอบอย่างไรให้ได้คะแนน” Technique for Writing Answer to Legal Exam “How to answer and achieve score”

Authors

  • เกียรติยศ ศักดิ์แสง

Keywords:

เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย, การหาประเด็นปัญหาคำถามกฎหมาย, รูปแบบหรือลีลาการเขียนตอบ, ธงคำตอบ Technique for Writing Answer to Legal Exam, Finding problem issues, Answer Writing Method, Straight Answer

Abstract

การทดสอบวิชากฎหมายในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท เนติบัณฑิตยสภา ตลอดจนผู้เข้าสอบคัดเลือกบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หรือข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาข้อสอบวิชากฎหมายจะยากขึ้นเป็นลำดับ

ปัญหาใหญ่ของผู้สอบในการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย มักมีปัญหา “ตอบถูกธงคำตอบ” แต่ไม่ได้คะแนนและเมื่อข้อสอบผูกข้อเท็จจริงขมวดปมปัญหาหลายประเด็น โดยมีเวลาให้อ่านคิดและเขียนตอบน้อย ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น อ่านคำถามแล้ว จับประเด็นไม่ได้ คิดตอบในสิ่งที่เขาไม่ถามทำให้สิ้นเปลืองสมองและเสียเวลา เกิดความลังเลไม่มั่นใจในธงคำตอบเอาแน่นอนไม่ได้ ลนลานจนขาด การจัดระบบความคิดและขาดการวางแผนการเขียนตอบทำให้เขียนตอบ              ไม่ปะติดปะต่อวกวนไปมา หาจุดเริ่มต้นเขียนตอบไม่ได้ แต่งตัวบทขึ้นเอง ปรับบทโดยลอกคำถามมาตอบ นำข้อเท็จจริงนอกคำถามมาเขียนตอบ หลักกฎหมายไม่มีเหตุผลทางกฎหมายไม่ได้ เป็นต้น 

จากการศึกษาพบว่าการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมายเป็นการนำเสนอคำตอบเชิงอภิปรายให้เหตุผลอันอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายหรือมีกฎหมายเป็นหลักฐานสำคัญ จึงแนะนำให้ผู้สอบหาข้อบกพร่องของตัวเองให้ได้ประยุกต์ใช้วิธี     การเขียนตอบในรูป “แบบผสมผสาน” ระหว่างการตอบแบบตามขั้นตอนกับการตอบแบบฟันธง กล่าวคือ เขียนตอบแบบตามขั้นตอนชูประเด็นหลักและประเด็นรอง เพราะปกติจะเป็นปัญหาสำคัญและมีคะแนนสูงกว่าประเด็นอื่นสำหรับประเด็นปลีกย่อยใช้วิธีตอบแบบฟันธง โดยวินิจฉัยปรับบทแทรกไปในการเขียนตอบประเด็นหลักและให้เก็บให้ครบถ้วน อย่างมีเหตุผลเชื่อมโยงสอดคล้องซึ่งกันและกัน

 

The legal exam of bachelor’s degree, master's degree and bar association as well as the entrance exam for Assistant Public Prosecutor or Assistant Judge, the legal examination questions get progressively more difficult.

The legal examinees’ serious problem in writing answers for legal exam is “giving a straight answer” but failing to achieve score. As the examination questions construct a complicated plot with a variety of issues, they limit time for consideration and writing each answer resulting in many problems. For example, the examinees read a question but fail to get the point, give an irrelevant answer causing time and thought consuming, hesitate about answer, write hurriedly and excitedly causing a lack of system thinking and planning resulting in confused answer, cannot find the starting point, compose a principle by self, adapt a principle by copying a question, write answer with irrelevant fact and write answer without the principles of law and legal reason.   

According to the study, it found that writing an answer for legal exam presented discussion and reason on the basis of law evidently. The examinees should find their defect and apply the “mixed method” of writing between writing step-by-step answer and absolute answer. The step-by-step answer presents the main issue and sub-issue. They are the main problem and provide score more than other issue. For the trivial issues, the absolute answer should be applied by considering and putting the text in the main issue’s answer and writing all issues in the answer reasonably and relevantly.  

 

Author Biography

เกียรติยศ ศักดิ์แสง

Law SRU

Downloads

Published

2018-04-03