มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Legal Measures for the Promotion of Conservation and Protection of Expression on the Folk tales)

Authors

  • จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ

Keywords:

มรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน, การส่งเสริม, การอนุรักษ์, การคุ้มครอง, องค์กรชุมชน, องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น, กฎหมาย, Folk Heritage, Promotion, Conservation, Protection, Community Organization, Local Government Organization, Law

Abstract

มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ความเป็นชนชาติที่มีความผูกพัน
เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ ทั้ง
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดย
จำแนกออกได้เป็นหลากหลายรูปแบบ ทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น องค์ความรู้
เกี่ยวกับธรรมชาติ หรือภูมิปัญญาไทย การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชมุ ชนท้องถิน่ อันควรส่งเสรมิ อนุรักษ์
และคุ้มครองไว้เป็นมรดกตกทอดยังชนรุ่นหลังต่อไป
จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เป็นกฎหมาย ตำรา งานวิจัย
วิทยานิพนธ์ วารสาร ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เอกสารการประชุมอบรม รวมทั้ง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทาง
วัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญกับการแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านใน
เขตพื้นที่ภาคใต้ วิเคราะห์เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม การ
อนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมประเภทหนังตะลุง ผู้สืบทอด

มรดกทางวัฒนธรรมประเภทมโนราห์ รวมถึงประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
มรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน
ในการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม
ผลการวิเคราะห์พบว่า มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม การ
อนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้หลากหลาย
รูปแบบทั้งที่เป็นรูปแบบโดยทั่วไปและรูปแบบที่มีสภาพบังคับเด็ดขาด แต่
จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า
มีลักษณะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นรูปแบบทั่วไป แต่ไม่ปรากฏมาตรการ
บังคับเด็ดขาดในการส่งเสริม อนุรักษ์ หรือคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้
อาจจัดกลุ่มกฎหมายได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) การกำหนดอำนาจหน้าที่
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเฉพาะ
เรื่อง และ 3) การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเฉพาะอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การกำหนดภาระหน้าที่และบทบาทผ่านกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและสภาองค์กรชุมชนตำบล แต่กฎหมายมีลักษณะเป็นการส่งเสริม
ซึ่งขาดสภาพบังคับที่ชัดเจน ทำให้มาตรการทางกฎหมายไม่เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน ส่วนผู้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านและประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย
ในชุมชนท้องถิ่นมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานหลักในการ
ส่งเสริม อนุรักษ์ และคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
การวิจัยจึงเสนอแนะให้ชุมชนท้องถิ่นที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและ
การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบล
ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 แล้วให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่ในชุมชุมท้องถิ่นนั้นสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ
สภาองค์กรชุมชนตำบลหรือด้านอื่น โดยการตกลงระหว่างกรมส่งเสริมการ
ปกครองส่วนท้องถิ่นกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) เพื่อให้การ
ส่งเสริม อนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย

Cultural heritage is a unique ethnicity, it attaches the way
of life in local communities which appear in various forms both
tangible cultural heritage and intangible cultural heritage. It is
also classified into several forms such as local arts and culture,
the body of knowledge about nature or the Thai wisdom. The
expression of folk art and culture is one of the cultural heritage of
the local community which should be conserved and protected
as a legacy to the next generation by collecting legal documents,
textbooks, research papers, thesis, journals, internet information,
documents from meetings and training including documents
related to the promotion, conservation and protection of cultural
heritage, focusing on the expression of folk artsand culture in the
South, and analyzed to find legal measures in order to promote
the conservation and protection of the cultural heritage. Moreover,
there was a collection of data from the sample group such as the
successors to the cultural heritage of shadow puppets and Manora
(classical Thai dance) including the people involved with the folk
cultural heritage to find the guideline of community participation in
promoting the conservation and protection of the cultural heritage.
The results showed that the legal measures to promote
conservation and protection of the cultural heritage can be
performedas a general and strictly prohibited patterns. But due to 

the study of Thai legal measures from the past to present found that
it is a traditional practice in general. However, there is no mandatory
measures to promote the conservation or protection of the cultural
heritage. The law may be grouped into 3 major groups: 1) Defining
the powers and duties of the local governments; 2) Protection of
specific cultural heritage and 3) Protection of cultural heritage,
especially, the assignment of duties and roles through the law of
the establishment of the local government organizations and the
council of sub-districts’ community organizations, but the law is
characterized as a promotion which lacks of clear enforcement that
making the legal measures not in the same direction, as a result,
the cultural successors and public stakeholders in the community
demand the government agencies as the main authorities in
promoting the conservation and protection of the local cultural
heritage.
This research suggested to the local communities which
have a rich cultural heritage and the expression of folk arts and
culture should establish the council of sub-district’s community
organizationin accordance tothe sub-district’s community
organization councils Act B.E. 2551. Then, the local governments
will involve in subsidiary ofthe operating expenses of the council of
sub-district’s community organization or others by the arrangement
between the department of Local Administration and the
Community Development Institute to promote the conservation
and protection of the cultural heritage in accordance with the legal
intentions.

Author Biography

จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ

Law SRU

Downloads

Published

2018-03-09