การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรณีศึกษา อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี(Enforcement of Child Protection Act, B.E. 2546 (2003), Case Study: Authorities of Inquiry Official under Surat Thani Provincial Po)

Authors

  • วิชาญ เครือรัตน์

Keywords:

การบังคับใช้กฎหมาย, การคุ้มครองเด็ก, พนักงานสอบสวน, Enforcement, Child Protection, Inquiry Official

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัย
เชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัญหาข้อกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและ
ปัญหาคดีที่เกี่ยวกับเด็กซึ่งกระทบถึงปัจจัยในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ
พนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การศึกษาครั้งนี้ พบปัญหาจากคำนิยาม คำว่า “เด็ก” ตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้มุ่งคุ้มครองเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ไม่คุ้มครอง
เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส จากข้อเท็จจริง ถึงแม้ว่าเด็ก
จะสมรสแล้วก็ตาม แต่อายุยังน้อย ด้อยวุฒิภาวะ ซึ่งไม่แตกต่างจากเด็กทั่วไปที่ยัง
ไม่ได้สมรส ครั้นเด็กที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสแล้ว ถูกกระทำจากบุคคลอื่น

จนได้รับความเสียหาย พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้คุ้มครองอย่างเช่นเด็กทั่วไป
สิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมายจึงไม่เท่าเทียมกัน ปัญหาต่อมา ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก
และใช้แบบสอบถามพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า
พนักงานสอบสวนเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ ปัญหาความพร้อม
ของสถานที่ที่เป็นห้องสอบปากคำ และอุปกรณ์ในการสอบสวนเด็กมีไม่ครบถ้วน
ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงานในเรื่องดังกล่าว ตกเป็นภาระของ
พนักงานสอบสวน
ปัญหาเหล่านี้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
ให้คุ้มครองตลอดถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส เพื่อ
ความเท่าเทียมและเป็นธรรม และรัฐควรเพิ่มอัตราตำแหน่งพนักงานสอบสวน ตลอด
ถึงงบประมาณในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ให้เหมาะสมเพียงพอ เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

This study is a mixed methods research integrating quantitative
and qualitative research in the objectives of studying problems of legal
provisions of child protection and child-related cases affecting factors
promoting the practice of inquiry official under Surat Thani Provincial
Police.
The study found problems arising from the definition.
According to the Child Protection Act, B.E. 2546 (2003), term “child”
aims at the protection children under 18 year-old but the act fails to
protect children under [18 years who become sui juris due to marriage.
In fact, even children get married, they are still young, lack of maturity

and not different from ordinary children not married. In case children
becoming sui juris due to marriage are assaulted by any person, the act
does not provide them protection like the ordinary children. It means
their legal rights are unequal. On the other problem, according to data
collected from inquiry officials under Surat Thani Provincial Police by indepth
interview and questionnaire, the study found that child
psychology-related inquiry officials were lacking and investigating
instruments were not enough as well as problems of lack of
investigation room preparedness and child investigation instrument.
Furthermore, the inquiry officials bore their own costs and expenses of
coordination.
These problems should be solved by amending the Child
Protection Act, B.E. 2546 (2003) so that the act protects children under
18 years of age becoming sui juris due to marriage for equality and
fairness. The government should increase a number of inquiry officials
and budget concerning aforesaid issues for effective performance.

Author Biography

วิชาญ เครือรัตน์

Law SRU

Downloads

Published

2018-03-09