ปัญหาการดำเนินคดีอาญานายจ้างตามมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541The Problem of Criminal Prosecution against the Employer Under Section 124/1, Labor Protection Act B.E. 2541 (1998)

Authors

  • นพดล ทัดระเบียบ
  • นพดล ทัดระเบียบ

Keywords:

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย, การดำเนินคดีอาญานายจ้าง, การคุ้มครองแรงงาน Problem of Law Enforcement, Criminal Prosecution against Employer, Labour Protection

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัญหาการดำเนินคดีอาญานายจ้างตามมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีนายจ้าง    ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง       ค่าล่วงเวลา ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ถือได้ว่าลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งได้ 2 ทาง โดยลูกจ้างจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่ไม่อาจจะใช้สิทธิพร้อมกันได้ทั้งสองทาง เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องแล้ว ต่อมา นายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงาน ให้ถือว่าคดีอาญาเป็นอันระงับไป

ปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างประวิง        การจ่ายเงินอย่างใดอย่างหนึ่งให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ควรจะได้รับ ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับเงินตรงตามระยะเวลา เกิดความเสียหายต่อการดำรงชีพ และกระทบต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ให้สัตยาบันไว้

ผู้เสนอบทความเห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะมีเนื้อหาที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้โทษทางอาญาต่อนายจ้าง กระทบต่อสิทธิลูกจ้างและเศรษฐกิจโดยรวม นำมาซึ่งปัญหาด้านนโยบายแรงงานระหว่างประเทศ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ตลอดถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ต่อไป

This article aims to study the problem of criminal prosecution against the employerunder Section 124/1, Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) in the case the employer breaches or fails to comply with the employee’s legal right to receive any money. For example, the employer terminates the employment ofthe employee who is entitled to receive the compensation or the employer fails to pay the wage or overtime wage subject to the law. It shall be deemed the employee doesn’t achieve the fairness. Currently, the law permits the employee to claim the civil right from 2 sources. The employee is entitled to bring a case to the Labuor Court or file an application to the labour inspector but the employee can’texercise the right from both sources at the same time. Upon claiming the right, the employer complied with an order given bythe labour inspector or judgement or order of the Labour Court, the case shall be deemed dropped.

This problem affected the employee’s right. In case the employer defers the payment of any money payable to the employee subject to the eligible right and causes the employee receives the payment behind schedule which affects theirlivelihood andviolates the convention of International LabourOrganization, it’s deemed the employer fail to comply with the ratification.

The author regards that the Section 124/1 of Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) should be revoked because it contains contexts causing the problem of criminal prosecution against the employer and affecting the employee’s right and the entire economy that leads to the problems of international labour policies. This solution is to ensure the fairness and good international relations.

Downloads

Published

2018-04-02