ความรับรู้ของเยาวชนในจังหวัดเชียงรายที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Awareness among Young Non-Drinkers in Chiang Rai of the Alcohol Control Laws
Keywords:
ความรับรู้ของเยาวชน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, จังหวัดเชียงราย Awareness of youth, Alcoholic Beverage, Alcoholic Beverage Control Law, Chiang Rai ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับรู้ของเยาวชนในจังหวัดเชียงรายที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 400 ตัวอย่าง ในพื้นที่18 อำเภอของจังหวัดเชียงราย ด้วยแบบสอบถามที่กำหนดประเด็นคำถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ความรับรู้ของเยาวชนต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการบังคับใช้กฎหมาย
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างดี และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มคนรอบข้าง ได้แก่ กลุ่มบุคคลในครอบครัว กลุ่มญาติ กลุ่มเพื่อน กลุ่มคนรักหรือแฟน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละกลุ่มไม่ถึงร้อยละ 32.0 ซึ่งมีผลต่อการไม่ดื่มของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่เคยพบเห็นพฤติกรรมการกระทำผิดกฎหมายของผู้บริโภค และผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสัดส่วนที่สูง ทั้งพบเห็นการจับกุมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เพียงร้อยละ 50.5 เท่านั้น การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความชัดเจนในการกำหนดลักษณะการกระทำผิดซึ่งมีโทษทางอาญา และกำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Abstract
This research seeks to study the awareness among young non-drinkers in Chiang Rai Province of the alcoholic beverage control laws. The survey of 400 samples, young people classed themselves as non-drinkers, was conducted in 18 districts with questionnaire divided into 3 parts namely a general information of the samples, awareness among young people of the alcoholic beverage control law, and the samples’ satisfaction of the enforcement of the law.
According to the study, the result found that the samples were well-aware of the alcoholic beverage control laws. Moreover, it was found that people around them i.e. family members, relatives, companions or lovers below 32.0 percent consumed alcoholic beverage which had a dominant influence on their drinking behaviour significantly. Besides, most of the samples witnessed huge proportions of illegal behaviour of consumers and sellers but only 50.5 percent of them witnessed an arrest or other acts by related officers. Therefore, this study concludes that the enforcement of the alcoholic beverage control laws is not effective as expected.
The result of this study leads to the conclusion where the alcoholic beverage control laws and other related laws should be revised in order to distinctly determine the character of wrongdoing acts with criminal penalty and regulate more effective enforcement measures.
References
เอกสารอ้างอิง
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2558 เรื่อง มาตรการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทาง และการควบคุมสถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
จิรัชยา บุญปัญญา และนาถ พันธุมนาวิน. “กลไกการป้องกันตนเองจากการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม”วารสาร สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 40 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557.
ธนาภัทร บุญเสริม และณัฐพรพรรณ อุตมา. (2557).“แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย”[Online].เข้าถึงได้จากhttp:// rs.mfu.ac.th/obels/?p=705. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2561.
เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และคณะ.(2558).สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาคเหนือ 2558 (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
ปกป้อง จันวิทย์. (2554). การวิเคราะห์กฎหมายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ : แนวคิดและวรรณกรรมปริทัศน์ (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561).บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และคณะ. (2556).รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2554 (รายงานการวิจัย). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
อดิศร เข็มทิศ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2553). บทบาทและพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีต่อผลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว และคณะ. (2559).ข้อเท็จจริงและตัวเลข: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
References
AdisornKhemthit. (2017). Legal Measures to Control the Advertising of Alcohol Beverage Through the Internet Media.Master of Laws Thesis in PridiBanomyong Faculty of Law.Dhurakij Pundit University.
Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008)
JiratchayaBunpanyaandNathBhanthumnavin.(2014).“Self-protectionMechanismsagainst Alcoholic Consumption among Students ofChandrakasemRajabhatUniversity”Journal of Social Sciences and Humanities. 40(1): 128-146 (2014).
National Statistical Office. (2018). Administrative Conclusion: Smoking andalcoholdrinking behaviorsurvey,2017.Bangkok:
NationalStatisticalOffice.
NuarpearLekfuangfu andOthers.(2015). Drinking of alcoholic beverage situation in Northern region, 2015 (Research Report).Bangkok: Center forAlcohol Studies.
Office of the Royal Society. (2018). Royal Institute Dictionary2011.[Online]. Availablefrom:http://www.royin.go.th/dictionary/.Retrieve 13 November 2018.
Order of the Head of the National Council for Peace and Order No.22/2558dated 22 July B.E. 2558 (2015)
OrrataiWaleewong and Others. (2010). Influence of parental norms and behaviours on youth drinking in Thailand (Research Report). Bangkok: Center for Alcohol Studies.
Pokpong Junvith. (2011).Economics Analysis of laws: Concepts and Review Articles (Research Report). Bangkok: The Thailand Research Fund.
Surasak Chaiyasongand Others. (2013). Provincial Alcohol Report 2011(Research Report).1stedition. Bangkok: Center for Alcohol Studies.
Thanapat Boonserm and Nathapornpan Uttama. (2014). Tendency of Chiang Rai province’s economic growth and border trade[Online]. Available from: http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=705. Retrieved 13 June 2018.
The Thai penal code.
Udomsak Saengow and Others. (2016).Facts and Figures: Alcohol in Thailand.Songkhla: Center for Alcohol Studies.