ข้อสังเกตบางประการในคดีเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) Some Observations in the Case Concerning Duties and Powers of the House of

Authors

  • Supat Sangpradup

Keywords:

หน้าที่และอำนาจ, คำวินิจฉัยและคำสั่ง, องค์กรตามรัฐธรรมนูญ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560Duties and Powers, Decision and Order, Constitutional Organization, The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในคดีเกี่ยวกับหน้าที่   และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)        เพื่อมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเสนอเรื่องและเงื่อนไขในการใช้สิทธิ    ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

            จากการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้ชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นส่วนย่อยขององค์กรดังกล่าวที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ        พ.ศ. 2561 ไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้ แต่หากเปรียบเทียบกับกฎหมายพื้นฐานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและรัฐบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ ค.ศ. 1951 ได้กำหนดให้ ปัญหาการใช้อำนาจขององค์กรส่วนย่อยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรงที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ สามารถเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ อีกทั้งยังได้กำหนดอายุความและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการใช้สิทธิไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าวของประเทศไทยไม่ได้กำหนดอายุความไว้ อีกทั้งกำหนดเงื่อนไขการใช้สิทธิบางกรณีไว้เท่านั้น

                ผู้เขียนเห็นว่า ผู้มีสิทธิเสนอเรื่องและเงื่อนไขในการใช้สิทธิต่อศาลรัฐธรรมนูญ สามารถกำหนดรายละเอียดไว้ในข้อกำหนดของศาลให้ชัดเจนขึ้นได้ ส่วนประเด็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับปัญหาการใช้หน้าที่และอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ สามารถนำแนวคำวินิจฉัยและคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเทียบเคียงประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน   

Abstract

            This academic article is a result from a study of some problems in the cases concerning duties and powers of the House of Representatives, the Senate, the Parliament, the Cabinet or the Independent Organizations under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017), Section 210, Paragraph one (2) to provide some observations relating to the qualified person to file case and condition for exercising rights to the Constitutional Court.

            According to the result, the study found that the current Constitution stipulates clearer than previous constitutions that constitutional organizations shall be entitled to file a case to the Constitutional Court. Nevertheless, some problems arise from issues concerning the performance of duties and powers of the Nomination Committee of the constitutional organizations which are its authoritative body. The current Constitution and the Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. 2561 (2017) fail to provide relevant details in this regard. In comparison with The Basic Law for the Federal Republic of Germany and the 1951 Federal Constitutional Court Act, the result found that these laws addressed the a problem of exercising powers of the constitutional organization’s authoritative body established directly by the Constitution to exercise the state powers by enabling such authoritative body to file a case for the Constitutional Court’s consideration. In addition, such laws provided definitely prescription and conditions for exercising rights in details. On the other hand, Thailand’s Constitution and such law fail to contain prescription and stipulate merely conditions for exercising rights in some cases.

            The author suggests that the Rules of the Constitutional Court can elaborate the qualified person to file a case and conditions for exercising rights to the Constitutional Court. Regarding substance of the case relating to an exercise of duties and powers of constitutional organization, the problem can be solved by considering and comparing the pattern of Constitutional Court’s decision and order with the Constitution Court’s applicable decision in the end under context of the current Constitution.

Author Biography

Supat Sangpradup

นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญชำนาญการ สำนักคดี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

Constitutional Case Specialist, Professional Level, Bureau of Legal Cases, The Constitutional Court of the Kingdom of Thailand

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมาธิการวิสามัญการปฏิรูปการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2550. รายงานความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ..... กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.

คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. 2550. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2541

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2541

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2542

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 7/2542

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 58–62/2543

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 63/2543

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 38/2545

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18/2546

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2546

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 33/2546

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 44/2547

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2549

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 40/2551

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 23/2553

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2561

บรรเจิด สิงคะเนติ. 2555. หลักพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับองค์กรตุลาการและศาล รัฐธรรมนูญสหพันธ์ของเยอรมัน. เอกสารประกอบการสัมมนาในหัวข้อ “บทบาทศาลรัฐธรรมนูญกับสังคมเยอรมัน” จัดโดย สถาบันนโยบายศึกษามูลนิธิคอนราดอาเดนาวร์ ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิษณุ เครืองาม. 2530. กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

ศาลรัฐธรรมนูญ [Online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.constitutionalcourt.or.th

/occweb/download/article/article_ 20180223095050.pdf

สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 2555. กฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เพรส จำกัด

Basic Law for the Federal Republic of Germany. 1949 (Grundgesetz - GG)

Bundesministerium der Justiz und fur Verbraucherschutz [Online]. Available from: https://www.gesetze-iminternet.de/englisch_gg/englisch_gg.pdf. Retrieved 26 October 2018.

Bundesverfassungsgericht [Online]. Available from: http://www.Bundesverfassungs gericht.de/SharedDocs/Downloads/EN/Gesetze/BVerfGG.pdf?blob=publicationFile&v=2 Retrieved 26 October 2018.

Federal Constitutional Court Act. 1951 (Bundesverfassungsgerichtsgesetz - BVerfGG)

H. Simon. 1994. Handbuch des Verfassungsrechts der Bundesrepublik Deutschland. Verfassungsgerichtsbarkeit. nBenda/Nathofer/Vogel

Reference

The Select Committee for Political Reform. National Legislative Assembly. 2007. Opinion Report on the Draft Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. .... Bangkok: Bureau of the Senate Secretariat 1 Acting Secretary-General of the National Legislative Assembly

The Select Committee for Record of Intension, Archives and Minutes, Constitution Drafting Committee. 2007. Intension of The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550. Bangkok: Commissioner 3. Office of the Secretary of the House of Representatives.

The Constitutional Court of the Kingdom of Thailand [Online]. Available from: http://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/article /article20180223095050.pdf Retrieved 26 October 2018.

Singkanetthi Bancherd. 2012. Basic Principal of The Constitution Concerning the Judiciary and the Federal Constitutional Court of Germany; Seminar handbook title "The role of the Constitutional Court and the German society" organized by the Institute for Policy

Studies. Konrad Adenauer Foundation. in collaboration with the Faculty of Law. National Institute of Development Administration

Krua-ngam, Visanu. 1987. Constitution Law. 3rd Edition Bangkok: Nithibunakarn.

Office of the Constitutional Court. 2012. Basic Law of the Federal Republic of Germany. Bangkok: P. Press Co., Ltd.

The Constitutional Court Decision 2/2541 (1998)

The Constitutional Court Decision 3/2541 (1998)

The Constitutional Court Decision 6/2542 (1999)

The Constitutional Court Decision 7/2542 (1999)

The Constitutional Court Decision 58-62/2543 (2000)

The Constitutional Court Decision 63/2543 (2000)

The Constitutional Court Decision 38/2545 (2002)

The Constitutional Court Decision 6/2546 (2003)

The Constitutional Court Decision 18/2546 (2003)

The Constitutional Court Decision 19/2546 (2003)

The Constitutional Court Decision 33/2546 (2003)

The Constitutional Court Decision 44/2547 (2004)

The Constitutional Court Order 40/2551 (2008)

The Constitutional Court Order 23/2553 (2010)

The Constitutional Court Order 1/2561 (2018)

Downloads

Published

2018-12-21