Current Issue

Vol. 5 No. 2 (2018): วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานีปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) 2561
					View Vol. 5 No. 2 (2018): วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานีปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) 2561
Published: 2018-11-02

ปกวารสาร

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

บทความวิจัย

บทวิจารณ์หนังสือ

แนะนำผู้เขียน

ผู้ทรงคุณวุฒิ

คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้เขียน

View All Issues

          วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่บัณฑิตวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ อนุมัติและสนับสนุนให้กองบรรณาธิการดำเนินการ แท้จริงแล้วบัณฑิตวิทยาลัยเคยออกวารสารอย่างต่อเนื่องมาแล้ว ชื่อ วารสารบัณฑิตศึกษา ซึ่งก็เป็นวารสารวิชาการที่มีคุณภาพ และได้เป็นเวทีทางวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา ที่ส่งผลงานเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์และรับรู้กันในแวดวงวิชาการทั่วไป

          แต่หลังจากที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 เพื่อการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย มาตรฐานคุณภาพวารสารทางวิชาการจึงต้องปรับเปลี่ยนไปทั้งคุณภาพในระดับที่สูง ขึ้น ตัวชี้วัดคุณภาพก็เป็นรูปธรรมมากขึ้น กองบรรณาธิการได้ตระหนักเรื่องนี้อย่างดี วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ภายใต้มาตรฐานคุณภาพดังกล่าว และเมื่อนำไปสู่การรับรองยอมรับของสภามหาวิทยาลัยตามข้อกำหนดของประกาศ ก.พ.อ. สภามหาวิทยาลัย ก็มีมติเอกฉันท์ยอมรับให้วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารที่มีคุณภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

         โดยที่วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดสาขาของการตีพิมพ์เผยแพร่ว่า เป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดขอบข่ายของบทความแต่ละฉบับจึงดำเนินไปในแนวทางนั้น สำหรับฉบับนี้ได้กำหนดขอบข่ายของวารสารไว้ว่า การศึกษาไทยในมุมมองของการเปลี่ยนแปลง ทิศทางของบทความจึงเป็นไปในแนวทางประการนี้ ส่วนฉบับต่อไปจะกำหนดขอบข่ายของวารสารว่า ทิศทางไทยในสมัยแห่งการปฏิรูป บทความในฉบับหน้าจึงเน้นเพื่อตอบโจทย์ตามขอบข่ายนี้

         ว่าที่จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่มิใช่เป็นไปโดยธรรมชาติ (nurture) ล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวในเบื้องต้นในฐานะเหตุปัจจัย ก็เกี่ยวในท่ามกลาง (process) และเกี่ยวในที่สุดกับผลผลิต ผลลัพธ์ หรือผลกระทบ ตราบใดก็ตามที่การเปลี่ยนแปลงนั้น “คน” เป็นผู้เข้าไปเกี่ยวข้อง จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม ยิ่งถ้ามองให้ลึกลงไปหรือรอบด้านมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ (nature) บางครั้งก็มี “คน” เข้าไปเกี่ยวข้อง หรือเป็นผลจากการที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน ดังที่ว่านี้ การศึกษากับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะมองในมุมเหตุ กระบวนการหรือผลก็ตาม

ผลงานที่จะรับพิจารณาบทความ

  1. เป็นบทความในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สหวิทยาการ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ (ถ้าได้รับการตอบรับที่จะให้ลง) หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงานหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
  3. ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. เนื้อหา บทความ หรือข้อคิดเห็นที่พิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
  5. ต้นฉบับต้องได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่านก่อนการตีพิมพ์

บรรณาธิการ   รองศาสตราจารย์ ปราณี เพชรแก้ว